Saturday 22 November 2014

ชวนอ่าน Seeing Like a State ของ James C. Scott

Social Sciences Journal Club
ครั้งที่ 5 ประจำเดือนมกราคม 2558


ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ Journal Club ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เวทีเสวนาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางวิชาการภาษาอังกฤษครั้งที่ 5 นี้จะเชิญชวนผู้ที่สนใจศึกษางานเขียนของนักวิชาการคนสำคัญที่ชื่อว่า James C. Scott ในงานเขียนชิ้นสำคัญเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า "Seeing Like a State" (1999) นำเสวนาโดยกลุ่มนิสิตปริญญาเอกสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

การเสวนาจะจัดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มกราคม 2558 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนวันและเวลาที่แน่นอนในการจัดงานเสวนาจะได้ประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่อไป





In this wide-ranging and original book, James C. Scott analyzes failed cases of large-scale authoritarian plans in a variety of fields. He argues that centrally managed social plans derail when they impose schematic visions that do violence to complex interdependencies that are not -- and cannot be -- fully understood. Further the success of designs for social organization depends on the recognition that local, practical knowledge is as important as formal, epistemic knowledge. The author builds a persuasive case against "development theory" and imperialistic state planning that disregards the values, desires, and objections of its subjects. And in discussing these planning disasters, he identifies four conditions common to them all: the state's attempt to impose administrative order on nature and society; a high-modernist ideology that believes scientific intervention can improve every aspect of human life; a willingness to use authoritarian state power to effect large-scale innovations; and a prostrate civil society that cannot effectively resist such plans.


Thursday 13 November 2014

ชวนอ่าน Hayek's The Road to Serfdom: Chapter 5 Planning and Democracy

Social Sciences Journal Club ครั้งที่ 4 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ Journal Club ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเสวนาเพื่อส่งเสริมทักษะในการอ่านงานวิชาการภาษาอังกฤษครั้งที่ 4 นี้จะเชิญชวนผู้อ่านศึกษางานเขียนของนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่ชื่อว่า Friedrich August von Hayek (F. A. Hayek) ในงานเขียนชิ้นสำคัญที่เป็นรากฐานของลัทธิ Neoliberalism ชื่อว่า "The Road to Serfdom" (1944)

การเสวนาจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17.30 น. ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ คณะสังคมศาสตร์ โดยเชิญชวนผู้ร่วมเสวนาให้อ่านเฉพาะ "บทที่ 5 Planning and Democracy" เพื่อเป็นการฝึกฝนการอ่านจับใจความ และการอ่านเชิงวิพากษ์ และเป็นฐานในการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมเสวนาท่านอื่นๆ

ท่านสามารถดาวน์โหลดบทที่ 5 ของ The Road to serfdom ได้ที่นี่ 

และนิสิตสามารถทำความเข้าใจในขั้นต้นก่อนอ่านงานบทที่ 5 ได้ด้วย The Road to serfdom in cartoon ที่นี่ 



Wednesday 15 October 2014

3rd Journal Club: Remembering October Incidents

Welcome to the Social Sciences Journal Club! 

Our 3rd meeting will take place on Wednesday 29 October 2014 at 5 pm. The usual venue is Ratchapruek conference room, the Faculty of Social Sciences, Naresuan University.

This time we will recall (but many of you might be the first time!) the October incidents of 1973 and 1976. Our short "compulsory" reading is Jeffrey Race (1975)'s "Thailand in 1974: A New Constitution". This paper offers you a concise summary of Thai politics in the aftermath of 14 October 1973. What had happened in a year later the mass victory in Bangkok?

Nevertheless, we have an "optional" paper by Anonymous (1976)'s on Military Coup of 6 October 1976.

Please bear in mind that you need to read a compulsory reading before attending the journal club. Once you try your best to read it, you will gradually learn English and will have systematically thinking and analytical skills.

Come and contribute some useful comments to our beloved academic community! See you soon!

Download a compulsory paper here

(An optional reading is here)


Sunday 7 September 2014

2nd Journal Club: Thailand and Precarious Work

Welcome to the Journal Club!

Our 2nd meeting will take place on Saturday 27 September 2014 at Ratchapruek Meeting Room, the Faculty of Social Sciences from 5 - 6.30 pm.

This time we will read Kevin Hewison and Worradul Tularak (2013) distinguished paper entitled "Thailand and Precarious Work: An Assessment". What is precariousness? What is precarious work? How about the precarious worker? Is this a problem? And is this matter to our life? You need to find out from the paper!

Again, you should keep in mind that you need to read the paper prior to the seminar. Once you try your best to read it, you will enjoy discussing and contributing some comments to our academic community.

You can download the paper here!

We wish you enjoy reading and look forward to seeing you soon!




Reference:
Hewison, Kevin, and Woradul Tularak. "Thailand and Precarious Work: An Assessment." American Behavioral Scientist (2013): DOI: 10.1177/0002764212466244.

Monday 18 August 2014

23 Things They Don't Tell You About Capitalism



Welcome to the first ever 'Journal Club meeting'! We are pleased to announce that the first reading material is an international best seller book of Ha-Joon Chang, 23 Things They Don't Tell You About Capitalism

Ha-Joon Chang is one of the leading economists specialising in development economics. He is now a Reader (Associate Professor) in Political Economy at the University of Cambridge, UK. 

**Please note that compulsory reading for the first meeting is "chapter 1 There is no such thing as a free market". You are supposed to read it in advance and come to seminar with the others on Sunday 24 August 2014 at 1.00 pm at Ratchapruek Meeting Room


 

Some Thoughts on Chang's book 

A masterful debunking of some of the myths of capitalism ... Witty, iconoclastic and uncommonly commonsensical ... this book will be invaluable (Observer)

Important .. persuasive . [an] engaging case for a more cautious and caring era of globalisation (Financial Times)

Myth-busting and nicely-written . the best economists are those who look around at our man-made world and ask themselves "why?". Chang is one (Independent)

In 23 lucid, sometimes breezily didactic chapters, Chang takes apart the stricken ideology of neoliberalism. Chang's method is not to engage with the neoliberals but to knock them down with assertions. (Paul Mason, Economics Editor, BBC Newsnight Guardian)

For anyone who wants to understand capitalism not as economists or politicians have pictured it, but as it actually operates, this book will be invaluable. (John Gray Observer)

Thursday 14 August 2014

ข้อคิด 10 ประการเพื่อการเรียนปริญญาเอกให้ประสบความสำเร็จ

ข้อคิด 10 ประการเพื่อเรียนปริญญาเอกให้ประสบความสำเร็จ


ดร.วัชรพล พุทธรักษา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

หลังจากผ่านประสบการณ์ในการเรียน (ทำวิจัย) ในระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลาสี่ปีระหว่างปี 2553-2557 เมื่อผู้เขียนสำเร็จการศึกษาแล้วมองย้อนกลับไปก็เห็นว่าการเรียนปริญญาเอกในระบบอังกฤษแบบดั้งเดิม (Traditional British PhD) และรวมถึงการทำปริญญาเอกแบบ by research ในประเทศไทยนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกว่าจะประสบความสำเร็จและเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยตัวเราเองหากมีการเตรียมความพร้อมทางวิชาการที่เพียงพอ ทั้งนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนสามารถสรุปข้อคิดสำคัญที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาต่อปริญญาเอก (และนำไปใช้กับการศึกษาปริญญาโทได้ด้วย) ได้ทั้งหมด 10 ประการดังต่อไปนี้

1. ต้องมี Passion ในเรื่องที่จะทำวิจัย
การเรียนปริญญาเอกในระบบ by research แบบอังกฤษนั้นเป็นการเรียนโดยไม่มี coursework หรือรายวิชาเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายๆมหาวิทยาลัยก็จัดให้มีรายวิชาเรียนอยู่ด้วยในปีแรกอาทิเช่น วิชา Research Methodology และ/หรือรายวิชาบังคับอื่นๆอีกนิดหน่อย และโดยมากแล้ว supervisor (ซุปเปอร์ไวเซอร์ หรืออาจารย์ที่ปรึกษา) จะสั่งให้นักเรียนป.เอกไป sit-in หรือไปนั่งเรียนโดยไม่นับเกรดร่วมกับรายวิชาของทั้งป.ตรีและป.โทตามแต่ซุปฯจะเห็นสมควรว่าวิชานั้นๆอาจจะช่วยให้นักเรียนป.เอกคนนั้นๆได้มีไอเดียหรือแนะนำข้อถกเถียงที่อาจจะสำคัญต่อการทำวิจัยของนักเรียน

ทั้งการเรียนวิชาบังคับในปีแรกรวมถึงรายวิชาที่เราไปนั่งเรียนโดยไม่นับแต้มนั้นสำคัญก็จริงแต่ก็ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าเราจะเรียนจบปริญญาเอกหรือไม่เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับระบบอังกฤษดั้งเดิมก็คือต้องเขียนเล่มวิทยานิพนธ์ที่ได้มาตรฐานที่จะตีพิมพ์ได้ (Publishable แต่ยังไม่ได้ต้องได้รับการตีพิมพ์ก็จบได้) และการสอบป้องการวิทยานิพนธ์ปากเปล่า (Viva Voce) ให้ผ่านในขั้นสุดท้าย ดังนั้นตลอดสี่ปีของการเรียน (จริงๆแล้วคือการวิจัย 3 ปีแรกและเก็บความเรียบร้อยใน 1 ปีหลัง หรือที่เรียกกันว่า writing-up year) ในแบบที่ไม่มีวิชาเรียนบังคับมากมายนั้น หากนักเรียนป.เอกมาเรียนโดยไม่มี passion หรือความใฝ่รู้อย่างแรงกล้าในเรื่องที่จะทำวิจัยนั้นก็จะเกิดปัญหาดังที่พบกันอยู่บ่อยๆก็คือผู้เรียนไม่รู้/ไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้วจะทำหรือกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร ข้อถกเถียง/ข้อเสนอหลักคืออะไร และจะทำไปเพื่ออะไร แต่หากใครก็ตามที่มี passion ต่อการทำวิจัยมากพอ ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างยิ่งต่อการเดินทางอันแสนทรหดในช่วงเวลาสี่ปี เพราะถือได้ว่ามีภูมิคุ้มกันในขั้นต้นที่ดีพอตัว และไม่ว่าจะเจออุปสรรคหรือความเครียดมากเพียงใด passion ที่มีก็จะเป็นแรงขับให้เดินไปจนถึงด่านสุดท้ายได้สำเร็จ  

2. มากกว่า 90%ของความสำเร็จมาจากตัวเรา
มีความเชื่ออยู่เรื่องหนึ่งที่นักเรียนไทยหลายคนมักพูดกันบ่อยๆว่า หากได้ supervisor ดีก็ถือเป็นศรีแก่ตัว และเชื่อว่าเราจะเรียนจบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาของเรา จริงอยู่ว่าอาจารย์ที่ปรึกษานั้นเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการเรียนปริญญาเอก แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่าอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ supervisor นั้นก็เป็นเพียงผู้ที่คอยดูแล/ควบคุม/ให้คำแนะนำ/เสนอแนะความคิดเห็น เกี่ยวกับงานวิจัยที่เราทำเท่านั้น แต่งานวิจัยปริญญาเอกจะเกิดขึ้นและสำเร็จลงหรือไม่นั้นต่อให้มี supervisor ที่เก่ง/ใจดี/เอาใจใส่ มากเพียงใดแต่ถ้านักเรียนป.เอกไม่อ่านหนังสือและไม่ริเริ่มเขียนงาน วิทยานิพนธ์เล่มนั้นก็ไม่มีวันเสร็จอย่างแน่นอน

3. Supervisor(s) คือ 10% ที่เหลือแต่ว่าก็สำคัญมาก
Supervisor หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำกับดูแลและช่วยผลักดันให้การทำวิจัยของนักเรียนป.เอกไปถึงฝั่งได้ ระบบการศึกษาป.เอกในแบบอังกฤษดั้งเดิมนี้นักเรียนป.เอกจะต้องเลือกและเสนอโครงร่างวิจัย (Research proposal) ให้กับอาจารย์ที่เราสนใจได้พิจารณาก่อนการสมัครเข้าเรียนอย่างเป็นทางการ หากว่าอาจารย์ท่านนั้นสนใจในเรื่องที่นักเรียนป.เอกจะทำวิจัย เขาก็จะตอบรับเป็นที่ปรึกษาให้และให้นักเรียนดำเนินการสมัครเข้าเรียนอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป แต่ประเด็นสำคัญก็คือ ต่อให้เราเลือกแล้วว่าอาจารย์ท่านนั้นเก่งและมีผลงานตีพิมพ์มากมายดังที่ปรากฏในหน้า Profile ของมหาวิทยาลัย/ภาควิชา ก็ไม่ได้มีสิ่งใดการันตีได้ว่าอาจารย์ท่านนั้นจะมีนิสัยหรือระบบการจัดการชีวิต/การทำงานอย่างไร และเมื่อมาทำงานด้วยจริงๆแล้วอาจารย์ท่านนั้นจะเอาใจใส่ และอ่านงานให้เราได้เร็ว/ช้าได้มากน้อยแค่ไหน

คำแนะนำขั้นต้นที่อาจจะสำคัญสำหรับผู้ที่จะเลือก supervisor ก็คือ หากเป็นไปได้ให้เลือกอาจารย์ที่ไม่แก่เกินไปไม่อยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุการทำงาน เลือกคนที่มีประวัติไม่ย้ายมหาวิทยาลัยบ่อยเพราะหากเราไปเรียนแล้วแต่อาจารย์ต้องย้ายมหาวิทยาลัยกลางคันก็จะเกิดความยุ่งยากตามมาหลายประการ นอกจากนี้หากเลือกได้ ก็ไม่ควรเลือกอาจารย์ที่เน้นเอาดีทางด้านบริหาร เพราะจะทำให้ไม่มีเวลาอ่านงานและคอมเม้นต์ให้นักเรียนป.เอกได้มากนัก

จากประสบการณ์ส่วนตัว ผู้เขียนได้ supervisor เป็นชาวเยอรมัน และเป็นอาจารย์ที่มีระเบียบวินัยในการทำงาน (Work ethic) ที่สูงมาก ทุกครั้งที่ส่งงานให้อ่าน อาจารย์จะอ่านจบในเวลาไม่กี่วันและเรียกเข้าไปพบโดยเร็วเพื่อคอมเม้นต์ในส่วนที่คิดว่ายังต้องปรับปรุง พร้อมกับกำหนดเดดไลน์ในการปรับแก้ให้ทุกครั้ง ซึ่งในแง่นี้นับเป็นโชคดีที่ได้พบอาจารย์ที่ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง และใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานเขียน ส่งผลให้ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ต้องปรับแก้ในงานเลยแม้แต่น้อย

4. Discipline หรือความมีวินัยคือกุญแจหลักของการเรียน
กุญแจหลักสู่ความสำเร็จในการเรียนปริญญาเอกในแบบ Research base ก็คือความมีวินัยในการทำงาน การเรียนปริญญาเอกต้องเขียนวิทยานิพนธ์ความยาวไม่เกิน 1 แสนคำ (แต่ระยะหลังในหลายมหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษาเรียนจบเร็วขึ้นจึงลด word limit ลงมาอยู่ที่ 7-8 หมื่นคำ) ซึ่งเป็นงานขนาดใหญ่และใช้เวลายาวสาม/สี่ปีในการอ่าน/ค้นคว้า วิเคราะห์-สังเคราะห์และเขียนออกมาเป็น chapters หากไม่มีวินัยในการค้นคว้าและเขียนงาน ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้และอาจจะทำให้นักเรียนป.เอกทำงานได้ล่าช้า และอาจจะนำไปสู่การไม่ผ่านการประเมินความก้าวหน้าก็เป็นได้ (ซึ่งมหาวิทยาลัยของผู้เขียนจะต้องถูกประเมินความก้าวหน้าของงานในทุกๆ 6 เดือน บางมหาวิทยาลัยก็ปีละ 1 ครั้งเป็นต้น)

5. ต้องทำงานแบบ Active ไม่ใช่ Passive
นักเรียนปริญญาเอกที่ประสบปัญหาในการเรียนจำนวนหนึ่งเกิดจากการไม่เข้าใจ nature ของการเรียนปริญญาเอกที่สำคัญมากประการหนึ่งคือการทำงานแบบ passive ซึ่งอาจเป็นเพราะรากฐานระบบการศึกษาของไทยที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ริเริ่มในการค้นคว้าและแสวงหาซึ่งคำตอบในเชิงวิชาการ ส่งผลให้นักเรียนป.เอกจำนวนหนึ่งเข้าใจธรรมชาติของการเรียนปริญญาเอกผิดไป โดยทำงานในลักษณะของการรอคอยคำสั่งหรือการป้อนให้จาก supervisor อยู่เสมอโดยไม่ได้ริเริ่มค้นคว้าและเขียนงานด้วยตนเอง

การเรียนในระบบนี้ให้ประสบความสำเร็จนั้น ก็เป็นดังที่กล่าวไปในข้อแรกสุดคือตัวนักเรียนป.เอกนั่นเองที่จะต้องเป็นผู้ริเริ่ม ค้นคว้า อ่าน/เขียนด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นงานของเราเองมิใช่งานของอาจารย์ที่ปรึกษา การทำงานแบบ active นั้นนักเรียนป.เอกจะต้องคิดและริเริ่มไอเดียในแต่ละบทด้วยตนเองก่อน แล้วจึงนำเสนอเพื่อขอความเห็นจาก supervisor นอกจากนี้การทำงานแบบ active ยังรวมถึงความพยายามในการเขียนอยู่เสมอๆด้วย จากที่ได้พบเห็นประสบการณ์ของนักเรียนที่มีปัญหาในการส่งงานไม่ทันกำหนดและ/หรือมีปัญหาในการเรียน ก็มักเกิดจากการไม่พยายามเขียนงานออกมาโดยเชื่อว่ายังอ่านไม่มากพอที่จะเขียน ในจุดนี้ผู้เขียนเสนอว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่การค้นคว้าใดๆจะทำได้สมบูรณ์ 100% และไม่มีประโยชน์เลยหากเราจะอ่านงานทั้งหมด (ซึ่งไม่มีวันหมด) ก่อนที่จะเขียน sections หรือ chapters ใดๆก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องวางโครงแนวคิดให้ชัด และพยายามเขียนอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพของงานและจะมีเวลาเหลือเพื่อย้อนกลับมาแก้ไข/ปรับปรุง (Revise) ได้ในภายหลังอีกด้วย

6. การเรียน PhD ต้องมี Time plan หรือ Schedule ที่ชัดเจน
อาจารย์ที่ปรึกษาชาวเยอรมันของผู้เขียนเป็นผู้สอนเทคนิคนี้ให้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เราพบกันและเริ่มต้นคุยเกี่ยวกับโครงร่างงานวิจัย อาจารย์ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าในทุกครั้งที่มาพบกันจะต้องมีการตกลงว่าจะเขียนงานในบทใด (หรือส่วนใด) ขนาดความยาวควรจะยาวกี่คำ และทุกครั้งอาจารย์จะนำปฏิทินตั้งโต๊ะมาพิจารณาแล้วระบุวันไปเลยว่างานชิ้นนี้จะต้องส่งภายในวัน/เดือนที่กำหนด (แต่ก็สามารถยืดหยุ่นได้เล็กน้อยเช่น จะส่งก่อนหรือหลังภายใน 2-3 วันจากที่ตกลงกันก็ย่อมทำได้ แต่จะต้องส่งอีเมล์มาแจ้งก่อนทุกครั้ง) นอกจากนี้นักเรียนป.เอก ก็ควรจะต้องมีตารางการทำงานในภาพรวม (ภาพรวมของสามปี ระบุชัดเจนว่าจะเสร็จแต่ละบทภายในเดือนใดบ้าง) ที่ชัดเจนและเคร่งครัดในการทำงานตามที่ระบุไว้ในตารางการทำงาน ข้อดีของการระบุแผนงานที่ชัดเจนจะช่วยให้นักเรียนป.เอกมีชีวิตที่ไม่ยุ่งเหยิงเกินไป และรู้ว่าเมื่อใดควรจะทำอะไร และหากจะมีขี้เกียจบ้างในบางช่วงขณะก็อาจจะทำได้ หากพิจารณาแล้วยังอยู่ในวิสัยที่จะทำงานได้ทันตามตารางงานที่ระบุ การทำเช่นนี้จะรับประกันว่านักเรียนจะเขียนงานเสร็จและเรียนจบได้ตรงเวลาค่อนข้างแน่นอน

7. ต้องมี Critical thinking  
ในกระบวนการทำวิจัยปริญญาเอกนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากซึ่งถือเป็น quality ที่สำคัญและต้องมีสำหรับนักเรียนป.เอกก็คือการคิดเชิงวิพากษ์” (Critical thinking) เพราะการคิดเชิงวิพากษ์นั้นสำคัญมากในทุกๆขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่การทบทวนวรรณกรรม การคิดหัวข้อวิจัย การเลือกกระบวนการเก็บข้อมูล การอ่านเพื่อทำความเข้าใจข้อถกเถียง/ดีเบตหลักในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์และสังเคราะห์และเขียนลงในผลการวิจัยของนักเรียนป.เอก หากขาดซึ่งทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ก็เป็นการยากมากที่นักเรียนป.เอกจะสามารถทำงานวิจัยที่มีความโดดเด่นและมีความใหม่ (Originality) ด้วยตัวเองได้

8. ความฉลาดและ IQ ไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จ
โดยทั่วไปแล้วผู้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่านักเรียนปริญญาเอก หรือดร. ที่เรียนสำเร็จแล้วจะต้องเป็นคนที่ฉลาดมาก และ/หรือมีสติปัญญาที่แหลมคม ตลอดจนต้องมี IQ ที่สูงล้ำกว่าคนอื่นๆเป็นแน่ แต่แท้จริงแล้วความเชื่อเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง ดร. ก็เป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่รู้เฉพาะในเรื่อง/สาขาที่ตนเองทำวิจัยมาเท่านั้น แต่ไม่ใช่ผู้ที่รู้ทุกเรื่องในโลกวิชาการ (เพราะมันไม่มีทางเป็นไปได้) จากประสบการณ์ที่พบเจอ คนที่มีผลการเรียนดีเด่นมาก ก็ไม่ใช่สิ่งที่การันตีความสำเร็จในการทำวิจัยปริญญาเอก แต่คนที่พยายาม มี work ethic ทำงานหนักและมีวินัยต่างหากที่การันตีความสำเร็จค่อนข้างแน่นอน

9. ต้อง balance การเรียนและการใช้ชีวิตให้ดี
การเรียนปริญญาเอกใช้เวลายาวหลายปี แน่นอนว่าการมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการค้นคว้าวิจัยและเขียนงานย่อมเป็น first prioirty เสมอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักเรียนป.เอกจะต้องทำแต่งานวิชาการแต่เพียงอย่างเดียวตลอด 3-4 ปี การ balance ระหว่างการเรียนกับการใช้ชีวิตและพักผ่อนก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างมากเช่นกัน การไปเรียนต่างประเทศก็เป็นโอกาสดีสำหรับนักเรียนป.เอกที่จะได้เดินทางไปทำความรู้จักกับเมืองและสถานที่ใหม่ๆ หรือการไปชมคอนเสิร์ตและกีฬาระดับโลกก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดเพราะเราได้ไปอยู่ในจุดนั้นแล้วก็ควรหาประสบการณ์ชีวิตไว้บ้าง นอกจากนี้การเข้าผับเพื่อดื่มและสังสรรค์กับเพื่อน หรือจัดปาร์ตี้ก็ย่อมทำได้บ้าง หากไม่กระทบกับตารางการทำงานที่เราได้วางไว้ก่อนแล้ว ผู้เขียนยึดหลักการว่าหากเว้นวรรคจากการทำงานไปท่องเที่ยว หรือไปชมฟุตบอล ก็จะต้องกลับมาทำงานชดเชยวันที่หยุดไปให้พอดีกันหรือทำงานให้มากขึ้น เพื่อให้ตารางงานของเราไม่เสียระบบไป

10. การคิดบวกเป็นสิ่งที่ดี
ข้อคิดประการสุดท้ายก็คือ การคิดบวกท่ามกลางสภาวะความเครียดเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก ขอให้นักเรียนป.เอกคิดไว้เสมอว่าเราได้ทำเต็มที่ (Do your best) อยู่เสมอ ดังนั้นไม่ว่าเมื่อไรจะต้องรับฟีดแบกงานคืนจาก supervisor ก็ขอให้มองบวกไว้เสมอ หากมีคอมเม้นต์มากและต้องแก้เยอะ นั่นคือเรื่องที่ดี เพราะการเห็นข้อผิดพลาดในระหว่างการทำวิจัยและเขียนงานย่อมเป็นเรื่องดีที่เรายังมีโอกาสแก้ไข ก่อนที่จะได้ส่งเล่มและสอบปากเปล่าในขั้นสุดท้าย การเรียนปริญญาเอกในระบบอังกฤษจะต้องผ่านประสบการณ์หน้าชา ได้รับคอมเม้นต์ที่ได้ฟังแล้วเศร้าใจ หรือทดท้อใจอยู่ตลอดเวลา แต่การมองบวกจะช่วยให้เราเข้าใจว่า กระบวนการฝึกตนในจุดนี้เป็นเรื่องที่ดี และวันหนึ่งข้างหน้า ในฐานะที่เป็น ดร. เราเองจะต้องทำวิจัยในระดับสูงโดยไม่มีที่ปรึกษามาคอยจ้ำจี้จำไชอีกต่อไปนั้นเราเองจะสามารถทำได้ และถ่ายทอดประสบการณ์ของตนต่อลูกศิษย์ในอนาคตได้ต่อไป

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนปริญญาเอก



Wednesday 13 August 2014

Welcome to the Journal Club!

Warm welcome to our new Journal Club. 

Journal Club: What is it? 

The Journal Club is a Postgraduate student-led informal discussion group that run fortnightly based in the Faculty of Social Sciences, Naresuan University. The club aims to improve and enhance academic reading, writing, and presentation skills for all Postgraduate students in the the Faculty of Social Sciences. Each 2-hour-long session will discuss on a 'selected key academic paper' facilitated by leading lecturers in the Faculty of Social Sciences. The selected work for each meeting will be provided electronically via this blog.

The Journal Club project is initiated by Dr Patcharin Sirasoonthorn, Dean of the Faculty of Social Sciences, Dr Davisakd Puaksom, and Dr Watcharabon Buddharaksa.

Please be in touch and come back soon for details on the first ever Journal Club session on Saturday 23 August 2014!